ข่าวน้ำท่วม น้ำท่วม วันนี้ รายงานสถานการณ์น้ำท่วม ล่าสุด 8 พ.ย. 65 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ประกาศรายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย น้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม ประจำวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.00 น. เช็คเส้นทาง น้ำท่วม วันนี้ มีที่ไหนบ่าง
น้ำท่วมวันนี้ มีที่ไหนบ้าง
รายงานข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.00 น.
พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- จ.มหาสารคาม (อ.เมืองฯ โกสุมพิสัย กันทรวิชัย เชียงยืน)
- กาฬสินธุ์ (อ.ฆ้องชัย กมลาไสย)
- ร้อยเอ็ด (อ.จังหาร เชียงขวัญ ทุ่งเขาหลวง)
- ศรีสะเกษ (อ.เมืองฯ ราษีไศล กันทรารมย์ ยางชุมน้อย)
- อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์ ดอนมดแดง ตาลสุม)
ภาคกลาง
- จ.ชัยนาท (อ.เมืองฯ วัดสิงห์ มโนรมย์)
- สุพรรณบุรี (อ.เมืองฯ สองพี่น้อง บางปลาม้า)
- อ่างทอง (อ.เมืองฯ ป่าโมก วิเศษชัยชาญ ไชโย โพธิ์ทอง แสวงหา)
- พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา ผักไห่ บางบาล บางไทร บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา บางซ้าย ลาดบัวหลวง)
- นครปฐม (อ.สามพราน นครชัยศรี บางเลน)
- ปทุมธานี (อ.เมืองฯ สามโคก)
ภาคใต้
- จ.นครศรีธรรมราช (อ.สิชล)
ขอให้ ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะบริเวณน้ำท่วมแนวสายไฟฟ้า เสาไฟฟ้า หรือวัตถุสื่อนำกระแสไฟฟ้า รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านทาง เพื่อความปลอดภัย ควรงดการท่องเที่ยวในพื้นที่ถ้ำที่มีน้ำท่วมขัง และน้ำตกที่น้ำไหลเชี่ยว
พื้นที่เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง
- ภาคกลาง จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร
- ภาคใต้ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ และระวังผลกระทบจากระดับน้ำทะเลหนุนสูง
พื้นที่เฝ้าระวังคุณภาพอากาศ (PM 2.5) (ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ณ เวลา 06.00 น.) ระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร (เขตหนองแขม คลองสามวา คันนายาว หนองจอก)
ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ ลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางที่โล่งแจ้ง และสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
น้ำท่วมวันนี้ 16 จังหวัด
ปภ.รายงานมีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 16 จังหวัด ประสานเร่งคลี่คลายสถานการณ์และช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(8 พ.ย. 65) เวลา 09.45 น. ปภ.รายงานมีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 12 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สุพรรณบุรี นครปฐม และนครศรีธรรมราช รวม 44 อำเภอ 394 ตำบล 2,727 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 168,362 ครัวเรือน ทั้งนี้ ปภ. ได้ประสานจังหวัดดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเร่งระบายน้ำเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ภัย สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ให้เร่งฟื้นฟูพื้นที่เพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ อ่าวไทย และทะเลอันดามัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง โดยในช่วงวันที่ 4 – 8 พ.ย. 65 ได้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สตูล สงขลา ยะลา ตรัง และนครศรีธรรมราช รวม 6 อำเภอ 22 ตำบล 98 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,121 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช รวม 8 ตำบล 39 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,677 ครัวเรือน
ส่วนสถานการณ์อุทกภัยและภาวะฝนตกหนักและการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก ตั้งแต่ช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 8 พ.ย. 65 พื้นที่น้ำท่วมรวม 59 จังหวัด 353 อำเภอ 1,879 ตำบล 11,770 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 528,063 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 12 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมใน 11 จังหวัด รวม 43 อำเภอ 387 ตำบล 2,688 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 164,685 ครัวเรือน โดยภาพรวมระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องทุกจังหวัด ดังนี้
- น้ำท่วมมหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเชียงยืน รวม 46 ตำบล 563 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,173 ครัวเรือน
- น้ำท่วมกาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอฆ้องชัย และอำเภอกมลาไสย รวม 7 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 412 ครัวเรือน
- น้ำท่วมร้อยเอ็ด น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ และอำเภอทุ่งเขาหลวง รวม 10 ตำบล 54 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,773 ครัวเรือน
- น้ำท่วมศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ อำเภอราษีไศล และอำเภอยางชุมน้อย รวม 24 ตำบล 168 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,138 ครัวเรือน อพยพประชาชน 913 ครัวเรือน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 35 จุด มีผู้เสียชีวิต 3 ราย
- น้ำท่วมอุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอตาลสุม และอำเภอดอนมดแดง รวม 20 ตำบล 104 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,026 ครัวเรือน อพยพประชาชน 183 ชุมชน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 94 จุด
- น้ำท่วมชัยนาท น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ และอำเภอมโนรมย์ รวม 11 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,894 ครัวเรือน
- น้ำท่วมอ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอแสวงหา รวม 52 ตำบล 319 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 25,944 ครัวเรือน
- น้ำท่วมพระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอ บางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางซ้าย และอำเภอลาดบัวหลวง รวม 103 ตำบล 719 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 67,806 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย
- น้ำท่วมปทุมธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 62 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,771 ครัวเรือน
- น้ำท่วมสุพรรณบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 43 ตำบล 271 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 26,105 ครัวเรือน
- น้ำท่วมนครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามพราน อำเภอบางเลน และอำเภอนครชัยศรี รวม 50 ตำบล 344 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,593 หมู่บ้าน
สำหรับการให้ความช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชน สิ่งสาธารณประโยชน์ สถานที่ราชการ และซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค รวมถึงเส้นทางคมนาคมให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”
ข้อมูล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
——————–
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<