“อพท.” เร่งปั้นเครือข่ายอีสานใต้ เชิญชวน อปท. เข้าเสริมทัพ

This image is not belong to us

“อพท.” เร่งปั้นเครือข่ายอีสานใต้ เชิญชวน อปท. เข้าเสริมทัพ

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า ได้มอบให้สำนักพัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยว (สพข.) และสำนักงานพื้นที่พิเศษ 2 เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ จัดประชุมชี้แจงความสำคัญและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Management Standard: STMS) ให้แก่หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (STMS) และการประเมินสถานะเบื้องต้นขององค์กรเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน STMS

ทั้งนี้ตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา อพท. ได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามมาตรฐาน STMS ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาแล้วหลายพื้นที่ ทำให้ปัจจุบันมีองค์กรที่สามารถดำเนินการได้ตามมาตรฐาน STMS แล้วจำนวน 62 องค์กร อยู่ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดน่าน จังหวัดเลย จังหวัดสุโขทัย จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดเชียงราย จังหวัดชุมพร จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดระยอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสุรินทร์ และในปี 2564 อพท. ตั้งเป้าดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามมาตรฐาน STMS ให้แก่หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกอย่างน้อย 7 แห่งใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดพะเยา และจังหวัดในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับหลักสากล

นาวาอากาศเอก อธิคุณ กล่าวว่า มาตรฐาน STMS หรือที่รู้จักกันในชื่อ อพท. น้อย เป็นเครื่องมือในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่ อพท. พัฒนาขึ้นสำหรับส่งเสริมให้แก่หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวหรือกิจกรรมการท่องเที่ยว ได้นำไปพัฒนาและยกระดับศักยภาพพื้นที่ของตัวเอง ให้มีแนวทางปฏิบัติในด้านการจัดการการท่องเที่ยว และสามารถหารายได้เสริมที่เพิ่มมาจากการให้บริการทางการท่องเที่ยวได้เป็นผลสำเร็จอย่างยั่งยืน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ผ่านมามาตรฐาน STMS แล้ว อพท. ก็ยังให้การดูแลและติดตามความต่อเนื่องในการดำเนินงานตามมาตรฐานฯ ปีละ 1 ครั้งเป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจได้อย่างถูกต้องในการดำเนินงานตามมาตรฐาน STMS ของ อพท.

อย่างไรก็ตาม อพท. มีโอกาสได้ร่วมประชุมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงในนำเสนอในที่ประชุมรับทราบถึงการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Smart DASTA และ CBT Thailand รวมทั้งระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ อพท. เพื่อเป็นช่องทางให้ภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ อพท. สามารถเข้าถึงข้อมูลด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่น Smart DASTA และ CBT Thailand ที่จะช่วยสนับสนุนข้อมูลด้านการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษของ อพท.

สำหรับเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีษะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่ง อพท. ได้เริ่มเข้าไปพัฒนาในพื้นที่โดยใช้องค์ความรู้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ GSTC ตั้งแต่ปี 2562 และในปี 2564 นี้ มีแผนดำเนินงานพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และการพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) เพื่อต่อยอดคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนให้พื้นที่อีสานใต้ ให้เกิดเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวต่อไป


ชุมพร

ชุมพร

ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรมฯ ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก

Next Post

หมวดบทความ

การก่อสร้าง การขนถ่ายสินค้า การขนส่งทางอากาศ การขุด หรือเจาะบ่อน้ำ การค้าวัสดุก่อสร้าง การติดตั้งประปาสายหลัก การติดตั้งไฟฟ้าสายหลัก การผลิต การบรรจุก๊าซ การผลิตน้ำมันพืช การผลิตน้ำแข็ง การหล่อหลอม การกลึงโลหะ การอัดปอ อัดใยมะพร้าว การเลี้ยงสัตว์ กิจกรรม ข่าว ชุมพร ตรวจหวย ธุรกิจ บริการซัก อบ รีด บริษัท มูลนิธิ ร้านค้า ร้านอาหาร วิถีชีวิต สถานที่ท่องเที่ยว สถานศึกษา สพป.ชุมพร เขต 1 สพป.ชุมพร เขต 2 สพม.เขต 11 สำนักงานจัดการเดินทาง หน่วยงานราชการ อบจ. อบต. อาหาร เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ โรงงาน โรงพยาบาล บริการสุขภาพ โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนศิลปะและกีฬา โรงเรียนสอนวิชาชีพ โรงเรียนสามัญ โอทอป ให้เช่ายานพาหนะ

บทความ แนะนำ

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.