23 มิถุนายน 2564 เมื่อเวลา 00.30 -02.00น.ที่ว่าการอำเภอทุ่งตะโก จ.ชุมพร นายสมพร ปัจฉิมเพชร รอง ผวจ.ชุมพร เปิดเผยว่า ในช่วงเดือน มิย. เป็นต้นไป เป็นช่วงที่ ทุเรียนหมอนทองในภาคใต้ เริ่มออกสุ่ตลาด โดยเฉพาะใน จ.ชุมพรเป็นพื้นที่ปลูกทุเรียนหมอนทองมากที่สุดในภาคใต้ และมากเป็นอันดับสองในประเทศ รองจาก จ.จันทบุรี จังหวัดชุมพรได้รับคำร้องเรียน จากผู้บริโภค และ ผู้เดินทางระหว่าง ชุมพรกับกทม. รวม ถึงผู้ค้าส่งทุเรียนว่าได้มีการลักลอบนำทุเรียนด้อยคุณภาพ หรือ ทุเรียนอ่อน ออกสู่ท้องตลาดทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของทุเรียนหมอนทองใน จ.ชุมพร ส่งผลให้ราคาทุเรียนลดลงอย่างรวดเร็วจาก 180บาท เหลือไม่ถึง 100 บาท อีก ทำให้ขาดความเชื่อถือจากต่างประเทศ แต่กลุ่มแก็งค์ที่ค้าขายทุเรียนอ่อน ได้ผลประโยชน์เพียงจำนวนหนึ่ง ไม่คำนึง ถึงผลประโยชน์ ของส่วนรวม ทั้งจังหวัดและ ประเทศชาติ
- “เชียงใหม่-ลำพูน”แตกตื่น! เสียงระเบิดสนั่นท้องฟ้า คาดเป็นสะเก็ดอุกกาบาต
- พบคลัสเตอร์ใหญ่โรงงานผลิตรองเท้าชื่อดัง ติดเชื้อเกือบทั้งโรงงาน
- โซเชียลรุมถล่ม “ศิลปินชาย” โพสต์ขอโทษล่วงละเมิดเหยื่อเพื่อน นศ.
จังหวัดชุมพร จึงได้ แต่งตั้งคณะทำงานและชุดปฏิบัติการป้องกันแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ ออกสู่ตลาด จังหวัดชุมพร อีกทั้งได้ตั้งชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจออกตรวจสอบ ปราบปรามแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยมีนายทวีป ไทยสวี ป้องกัน จ.ชุมพร นำคณะชุดปฏิบัติการฯ มีทั้ง จนท.ศูนย์ดำรงธรรมชุมพร จนท.คุ้มครองผู้บริโภคชุมพร เข้าทำการตรวจสอบในพื้นที่ อ.ทุ่งตะโก ตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 22 มิย.64 จนได้เบาะแสว่ามีการนำทุเรียนอ่อนออกมาจำหน่ายทั้งที่แผงขายทุเรียนริมถนนสายเอเซีย41 และ ล้งรับซื้อทุเรียนเพื่อการส่งออกต่างประเทศ จึงรายงานให้ตนเองทราบ และจากการที่ได้รับมอบหมายจาก นายธีระ อนันตเสรีวิทยา ผวจ.ชุมพรให้ควบคุมการปฏิบัติการ คณะกรรมการชุดนี้ จึงได้ปลอมตัว เป็นชาวบ้าน ด้วยการแต่งตัว ด้วยผ้าขาวม้าคาดสะเอวใส่เสื้อผ้าแบบชาวบ้าน เดินทางด้วยรถยนต์ไม่ติดตราราชการ ไปยัง พื้นที่ หมู่ที่ 6 ต.ทุ่งตะไคร อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร เข้าไปยัง แผงขายทุเรียนป้านึง ปูปลา เลขที่ 90 หมู่ที่ 6 ต.ทุ่งตะไคร อ.ทุ่งตะโก พบนางคำนึง พูลเถียะ อายุ 66 ปี บ้านเลขที่ 8/60 หมู่ที่ 1 ต.บางนอน อ.เมือง จ.ระนอง กำลังขายทุเรียนจำนวนมาก ตรงตามที่สายลับแจ้ง จึง ทำทีเป็นผู้ซื้อเข้าไปสอบถามรายละเอียด นางคำนึงบอกกับนายสมพร รอง ผวจ.ชุมพร ซึ่งปลอมตัวเป็นชาวบ้านที่ต้องการซื้อทุเรียนว่า ทุเรียนทั้งหมดที่นำมาตั้งขายในแผงเป็นทุเรียนหมอนทองที่แก่จัดพร้อมรับประทานได้ แล้ว ขายในราคา กก.ละ70 บาท นายสมพรจึงทำทีตกลงซื้อ หลังจากนั้น จนท.ทั้งหมดจึงแสดงตัวเป็น จนท.ชุดปฏิบัติการปราบปรามการค้าทุเรียนอ่อน เข้าทำการตรวจสอบทุเรียนหมอนทองในแผงป้านึง
จากการตรวจสอบพบว่า มีทุเรียนอ่อน จำนวน 77 ลูก น้ำหนัก 222 กก. จึงทำการตรวจยึด และ ผ่าทุเรียนเหล่านั้นพบว่า เนื้อทุเรียนยังขาว ไม่มีกลิ่นหอมของทุเรียนแก่ แต่อย่างใด อันแสดงถึงเป็นลักษณะของทุเรียนอ่อน จึงได้ใช้เครื่องมือของ สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร ทำการตรวจวัดปริมาณแป้งในเนื้อทุเรียนพบว่ามีปริมาณเพียง 17-18 % เท่านั้น ทั้งที่มาตรฐานของปริมาณแป้ง จะต้องมี ถึง 32 % จึงถือเป็นทุเรียนแก่ พร้อมสุกและ รับประทานได้ และได้จับกุมนางคำนึง โดยให้การยอมรับว่าเป็นผู้ค้าทุเรียนจำนวนดังกล่าวจริง แล้วควบคุมตัวไปทำบันทึกจับกุม นำส่ง ตำรวจ สภ.ทุ่งตะโก ในข้อหา พยายามขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใดๆให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพคุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ตาม กฎหมาย อาญา มาตรา 271และมาตรา80 และข้อหาเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ฯลฯ ตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 47 ทำเอานางคำนึงถึงกับเขาอ่อนให้การรับสารภาพ
ทางด้านนายบัญชา ธนูอินทร์ นายอำเภอทุ่งตะโก นายทวีป ไทยสวี ป้องกัน จ.ชุมพร นายดุสิต ศักรกานต์ ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชุมพร นำกำลัง เข้าตรวจสอบ ล้งรับซื้อทุเรียนเพื่อการส่งออกต่างประเทศ ที่ตั้งริมถนนเอเซีย41 ในพื้นที่ อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพรพบว่ามีทุเรียนอ่อนจำนวนหนึ่งในล้งทุเรียนดังกล่าว จึงได้ทำการตรวจยึด นำไปตรวจสอบคุณภาพ และ เชิญตัว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ ล้งทุเรียนที่มีทุเรียนอ่อนไปสอบถามก่อนจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
เรื่องโดย ประสิทธิ์ ลีฬหคุณากร | ภาพโดย ประสิทธิ์ ลีฬหคุณากร