เปิดพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำ ปภ.เผยยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง (ลุ่มเจ้าพระยา) และภาคใต้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย เปิดพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ตั้งแต่ช่วงวันที่ 14 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป โดยมีพื้นที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ภัย แยกเป็น
จังหวัดพื้นที่ภาคเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 11-17 สิงหาคม 2565
อิทธิพล “มู่หลาน” ทำน้ำท่วมสูงหลายพื้นที่ในภาคเหนือ เร่งระบายน้ำ
สภาพอากาศวันนี้! มรสุมปกคลุมไทยมีกำลังอ่อนลง เตือน 52 ยังเจอฝนฟ้าคะนอง
จังหวัดพื้นที่ริมน้ำโขง 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นช่วงวันที่ 13-18 สิงหาคม 2565
จังหวัดพื้นที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และ 11 จังหวัด ประกอบด้วย อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมขังและน้ำล้นตลิ่ง ตั้งแต่ช่วงวันที่ 11 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป
จังหวัดพื้นที่ชายทะเล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และ 22 จังหวัด ประกอบด้วย สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำและพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งช่วงตั้งแต่วันที่ 10-16 สิงหาคม 2565
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงขอฝากเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ติดตามข่าวสารและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานราชการอย่างเคร่งครัด เพื่อลดผลกระทบจากสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น ท้ายนี้ ประชาชนสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” และหากได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดย เพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline