ศบค.เผยข้อมูลโควิดไทยยังทรงตัว ติดเชื้อเกิน 2 หมื่นรายทุกวัน กำลังรักษาสะสม 2.27 แสนราย ส่วนใหญ่อยู่ที่บ้าน อยู่ รพ.เพียง 6.5 หมื่นราย อาการหนัก 1,319 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 438 ราย วันนี้ดับอีก 66 ราย มาจากกทม.สูงถึง 14 ราย ทารกดับอีกวัยเพียง 4 เดือน ภาพรวม 10 จังหวัดยังติดเชื้อสูงกว่า 500 ราย 59 จังหวัดยังเกินร้อย
เมื่อวันที่ 13 มี.ค ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำวัน ว่า ประเทศไทยยังพบผู้ติดเชื้อใหม่เกินหมื่นรายเป็นวันที่ 37 ในการระบาดระลอกโอมิครอน โดยวันนี้พบติดเชื้อรายใหม่ 23,584 ราย สะสม 3,184,825 ราย หายป่วย 22,233 ราย สะสม 2,933,780 ราย เสียชีวิต 66 ราย สะสม 23,709 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 227,336 ราย อยู่ใน รพ. 65,356 ราย อยู่ รพ.สนาม HI CI 161,980 ราย มีอาการหนัก 1,319 ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจ 438 ราย ทั้งนี้ ผู้เสียชีวิต 66 ราย มาจาก 31 จังหวัด ได้แก่ กทม. 14 ราย, นครศรีธรรมราช 6 ราย, ชลบุรี 4 ราย, กระบี่ 3 ราย, นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครราชสีมา มุกดาหาร สุรินทร์ เชียงใหม่ สุโขทัย พัทลุง สุราษฎร์ธานี ราชบุรี จังหวัดละ 2 ราย และ ยโสธร อุดรธานี แพร่ พิจิตร อุตรดิตถ์ ชุมพร นราธิวาส ปัตตานี ภูเก็ต ยะลา สตูล พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระแก้ว และสระบุรี จังหวัดละ 1 ราย เป็นชาย 40 ราย หญิง 26 ราย อายุ 4 เดือน – 97 ปี เฉลี่ย 75 ปี โดยเป็นผู้สูงอายุและโรคประจำตัวรวม 97%
ส่วน 10 จังหวัดที่มีรายงานติดเชื้อรายใหม่สูงสุด คือ 1. กทม. 2,967 ราย 2. นครศรีธรรมราช 1,438 ราย 3. ชลบุรี 1,191 ราย 4. สมุทรปราการ 890 ราย 5. นนทบุรี 868 ราย 6. สมุทรสาคร 809 ราย 7. พระนครศรีอยุธยา 768 ราย 8. ปทุมธานี 600 ราย 9. นครราชสีมา 556 ราย และ 10. นครปฐม 503 ราย
สำหรับจังหวัดติดเชื้อถึง 100 รายขึ้นไปยังมีอีก 49 จังหวัด คือ สงขลา 486 ราย, ราชบุรี 485 ราย, ภูเก็ต 464 ราย, สุพรรณบุรี 447 ราย, ฉะเชิงเทรา 430 ราย, ระยอง 368 ราย, ร้อยเอ็ด 365 ราย, ขอนแก่น 352 ราย, สุรินทร์ 352 ราย, บุรีรัมย์ 342 ราย, มหาสารคาม 312 ราย, เชียงใหม่ 308 ราย, เพชรบุรี 296 ราย, ปัตตานี 274 ราย, ปราจีนบุรี 273 ราย, อุดรธานี 268 ราย, นราธิวาส 262 ราย, สระบุรี 253 ราย, ประจวบคีรีขันธ์ 252 ราย, สมุทรสงคราม 248 ราย, ยะลา 245 ราย, สุราษฎร์ธานี 241 ราย, กาฬสินธุ์ 236 ราย, อุบลราชธานี 233 ราย, กาญจนบุรี 231 ราย, สระแก้ว 230 ราย, ศรีสะเกษ 217 ราย, จันทบุรี 208 ราย, สกลนคร 200 ราย
นครสวรรค์ 199 ราย, ระนอง 194 ราย, ลพบุรี 191 ราย, สตูล 190 ราย, พัทลุง 184 ราย, ชุมพร 182 ราย, กระบี่ 173 ราย, เลย 172 ราย, หนองคาย 160 ราย, พิษณุโลก 152 ราย, นครนายก 151 ราย, อ่างทอง 147 ราย, ตรัง 143 ราย, สุโขทัย 126 ราย, ยโสธร 120 ราย, กำแพงเพชร 117 ราย, ตราด 114 ราย, ตาก 113 ราย, ชัยภูมิ 108 ราย และสิงห์บุรี 105 ราย ทั้งนี้ มีจังหวัดติดเชื้อหลักหน่วยเพียงจังหวัดเดียว คือ “ลำพูน” 6 ราย
ส่วนการติดเชื้อมาจากเรือนจำพบ 100 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศ 67 ราย ใน 27 ประเทศ ซึ่งประเทศต้นทางที่มีการติดเชื้อมาก เช่น กัมพูชา 27 ราย, เมียนมา 9 ราย (ลักลอบเข้ามา 6 ราย), อิสราเอล เยอรมนี ประเทศละ 5 ราย เป็นต้น ภาพรวมเข้าระบบ Test&Go 24 ราย แซนด์บ็อกซ์ 6 ราย ระบบกักตัว 31 ราย และลักลอบเข้ามา 6 ราย
สำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศตั้งแต่วันที่ 1-12 มี.ค. 2565 จำนวน 100,766 ราย รายงานติดเชื้อ 912 ราย คิดเป็น 0.91% แบ่งเป็นระบบ Test&Go 86,877 ราย ติดเชื้อ 590 ราย คิดเป็น 0.68% แซนด์บ็อกซ์ 12,097 ราย ติดเชื้อ 280 ราย คิดเป็น 2.31% และกักตัว 1,792 ราย ติดเชื้อ 42 ราย คิดเป็น 2.34%
การฉีดวัคซีนโควิด 19 วันที่ 12 มี.ค. ฉีดได้ 224,331 โดส สะสมรวม 126,087,224 โดส เป็นเข็มแรก 54,386,322 ราย คิดเป็น 78.2% ของประชากร เข็มสอง 49,984,694 ราย คิดเป็น 71.9% ของประชากร และเข็มสาม 21,716,208 ราย คิดเป็น 31.2% ของประชากร